fbpx

5 เรื่องน่ารู้ความแตกต่างระหว่างการจราจรของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

Home > Blog > 5 เรื่องน่ารู้ความแตกต่างระหว่างการจราจรของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดอย่างมากและเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อด้านระเบียบวินัยสูงที่สุดติดอันดับโลก แม้ว่าการผลิต การขนส่ง หรือแม้กระทั่งการจราจรบ้านเขาก็ยังมีความเป็นระเบียบและมีระบบในตัวของมันเอง ซึ่งแตกต่างจากการจราจรบ้านเราอย่างสิ้นเชิง วันนี้เราจะพาคุณไปดูกันครับว่า ความต่างของการจราจรบ้านเขากับบ้านเรามีความต่างกันอย่างไรบ้าง

1. ผลิตรถมากเป็นอันดับต้นๆ แต่แทบไม่มีรถติดเลย

ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีการผลิตรถและส่งออกรถติดอันดับโลก แต่ใครเลยจะรู้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แทบจะไม่มีรถติดเลยในแต่ละวัน ซึ่งบางวันอาจจะมีบ้าง คิดเป็นเกณฑ์มาตราฐานในหนึ่งอาทิตย์แทบไม่ถึง 15% ด้วยซ้ำ ต่างจากของไทยบ้านเราที่ติดเป็นว่าเล่น นั่นก็เป็นเพราะรูปแบบการวางโครงสร้างถนนของเขามีแบบแผนมากกว่าบ้านเรานั่นเอง

2. บางเมืองมีจักรยานมากกว่ารถยนต์เสียอีก

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรนณรงค์เรื่องการขับขี่และการจราจรตั้งแต่เด็ก รวมไปถึงการปลูกจิตสำนึกและการลดปริมาณก๊าสมลพิษด้วย คนญี่ปุ่นจึงหันมานิยมใช้จักรยานกันมากกว่าใช้รถยนต์หรือ มอเตอร์ไซเสียอีก ดังนั้นเราจึงมักจะเห็นคนญี่ปุ่นขี่จักรยานหรือมีจักรยานจอดอยู่ตามริมทางเต็มไปหมดเลย

3. เสียงรถยนต์ห้ามดังเกินกว่ากำหนด

บ้านของเขาจะไม่นิยมเบิ้ลเครื่องหรือทำเสียงดังเหมือนกับบ้านเรา เพราะทางญี่ปุ่นมีมาตราการจับคนที่ทำเสียงก่อกวนชาวบ้าน ซึ่งโทษทางกฏหมายก็ปรับแรงไม่ใช่น้อย

4. นอกจากดังแล้ว ความเร็วก็ต้องจำกัด

การจำกัดการเร่งเครื่องยนต์ของญี่ปุ่นมีอัตรากำหนดที่ตายตัว ส่วนนี้ก็เนื่องด้วยจากภาวะประชากรที่หนาแน่นและเดินข้ามถนนมากมายในแต่ละวัน ดังนั้นแล้วเพื่อความปลอดภัยและลดความประมาทในตัวคนขับทางญี่ปุ่นจึงออกกฏให้มีการขับอยู่ภายใต้ความเร็วที่กำหนดไว้ในแต่ละพื้นที่

5. ถ้าชนใครเมื่อไหร่ โดนค่าปรับบานแน่นอน

ประเทศญี่ปุ่นมีความจริงจังเรื่องความประมาทมาก โดยหากใครที่ขับรถไม่ระวังและชนคนเข้าล่ะก็ ผู้ชนจะต้องออกค่ารักษาคู่กรณีหรือชดใช้ค่าเสียหายของคู่กรณีนั้นๆให้จนครบ รวมไปถึงจ่ายค่าปรับที่แพงแสนแพง และไหนยังจะต้องงดใช้ใบขับขี่อีกเป็นระยะเวลา 3-5 ปี แล้วแต่สถานการณ์ไป ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะยินยอมให้ไม่ต้องชดใช้ทุกอย่างก็ได้ แต่กฏหมายจะต้องบังคับให้คนๆนั้นจ่ายชดใช้จนกว่าจะหมด